วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555


วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204  
ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

*" หยุดวันปีใหม่  2556 "*

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2555


วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204  
ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

^*สอบกลางภาค*^

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2555 เวลา 8.30 - 12.20 น.  
    วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204  
ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการใช้ในทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือในกรเรียนรู้คือ ภาษา และคณิตศาสตร์ ภาษาและคณิตศาสตร์เป็นหลักในการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้
     กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์มีดังนี้
จำนวนและดำเนินการ คือ การเข้าใจในการแสดงจำนวน ความหลากหลายของการแสดงจำนวน
การวัด คือการหาค่า การเข้าใจพื้นฐาน มีน้ำหนัก ปริมาณ เงิน อุณหภูมิ
เรขาคณิต คือ รูปทรง
พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสำคัญ
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    และวันนี้อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ให้เขียนหน่วยการสอนที่จะสอนใน1สัปดาห์โดยในรูปแบบของแมบปิ้ง กลุ่มของดิฉันได้หน่วย ตัวฉัน แต่ นำเสนอเรื่องของผมมีดังนี้
  • ·         ชนิด
  • ·         ลักษณะ 
  • ·         สี
  • ·         ประโยชน์
  • ·         โทษ
  • ·         ข้อควรระวัง


 สมาชิกภายในกลุ่ม

นางสาว     กนกกร      พอกระโทก

นางสาว     ภรณ์ไพลิน   สุขสวัสดิ์
นางสาว     คริษฐา      วีแก้ว

นางสาว     ณัฐติยา     เมืองมีศรี
นางสาว     นรภัทร      วงษ์ขันธ์

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2555


วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2555 เวลา 8.30 - 12.20 น.  
    วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204  
ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องกระดาษมา แล้วอาจารย์ก็ถามว่า กล่อง1กล่องสามารถสอนคณิตศาสตร์อะไรให้กับเด็กได้บ้าง
   กล่อง1 กล่อง สามารถสอน เรื่อง รูปทรง ขนาด พื้นที่ผิว การนับ การจับคู่ขนาดของกกล่อง การเปรียบเทียบขนาดของกล่อง เป็นต้น และวันนี้อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน มีทั้งหมด4 กลุ่ม และกลุ่มของดิฉัน อาจารย์ได้กำหนดหัวข้อเรื่องให้ว่า ให้นักศึกษาวางกล่องตามความคิดของตัวเองโดยที่ไม่ให้เพื่อนบอกว่าต้องวางตรงตำแหน่งไหน และกลุ่มของดิฉันก็วางกล่องตามจินตนาการผลสรุปออกมาว่า กลุ่มของดิฉันได้วางกล่องเป็นรูป เรือ และตั้งชื่อเรือปิโตเลียมไทย 

 สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนแต่ละกลุ่มได้ตั้งชื่อว่า
กลุ่มของดิฉันชื่อ เรือปิโตเลียมไทย
เจสกีกับรถแทรคเตอร์
หุ่นยนต์
และหนอน


ในการประดิษฐ์ผลงานจากกล่องก็จะสามารถสอนเด็กในเรื่องของ ตำแหน่ง รูปทรง จำนวน เรื่องของทิศทาง การเรียงลำดับ และได้รู้จักการแก้ไขปัญหา

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2555

                 วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2555 เวลา 8.30 - 12.20 น.  
    วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204  
ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
จากสัปดาห์ที่แล้วที่อาจารย์ให้ทำงานเป็นคู่ว่าให้นักศึกษาจัดหน่วยการเรียนการสอนให้กับเด็กในเรื่องของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วในสัปดาห์นี้อาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนองานหน้าชั้น
หัวข้อเรื่องที่นำเสนอคือ  หน่วยสัตว์

กลุ่มที่ 1 เรื่องของการนับ จะสอนเด็กให้รู้จักการนับจำนวนสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ ว่า สัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์มีทั้งหมดกี่ตัว
กลุ่มที่ 2 เรื่องของตัวเลข คือ การแทนค่าจำนวนของ จำนวนสัตว์ที่มีอยู่ในสวนสัตว์
กลุ่มที่ 3 เรื่องของการจับคู่  เป็นการจับคู่ของจำนวนสัตว์บกและสัตว์น้ำว่ามีกี่คู่
กลุ่มที่ 4 เรื่องของการจัดประเภท คือ ต้องมีเกณฑ์ในการแยกประเภทโดยที่จะแบ่งสัตว์เป็น2 กลุ่ม โดยมีเกณฑ์ว่า สัตว์บกกับสัตว์น้ำ
กลุ่มที่ 5 เรื่องของการเปรียบเทียบ  การเปรียบเทียบระหว่างสัตว์บกกับสัตว์ที่ไม่ใช้สัตว์ว่า สัตว์ชนิดไหนมีจำนวนมากกว่า
กลุ่มที่ 6 เรื่องของการจัดลำดับ การวัดส่วนสูงของสัตว์แล้วเรียงจากน้อยไปหามาก
กลุ่มที่ 7 เรื่องของรูปทรงและเนื้อที่  รูปทรงและเนื้อที่ตามที่อยู่อาศัยของสัตว์ เช่นที่อยู่ของช้าง ก็จะต้องไปรูปสี่เหลี่ยม
กลุ่มที่ 8 เรื่องของการวัด  ในเรื่องของการให้อาหารสัตว์จะต้องมีการชั่งให้มีปริมาณเท่ากัน
กลุ่มที่ 9 เรื่องของ เซต  ในเรื่องของการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มคือ สัตว์กินพืชกับสัตว์ไม่กินพืช
กลุ่มที่ 10 เรื่องของเศษส่วน  เรื่องของการแบ่งจำนวนของสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆกัน
กลุ่มที่ 11 เรื่องของทำตามแบบหรือลวดลาย  ในเรื่องของการเรียงลำดับรูปของสัตว์ แล้วให้เด็กทำกิจกรรมในเรื่องของการเรียงลำดับรูปตามแบบที่ครู เรียงไว้
กลุ่มที่ 12 เรื่องของการอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  การเทปูนพลาสเตอร์ลงในแม่พิมพ์ในปริมาณเท่าๆกัน


วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2555

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2555 เวลา 8.30 - 12.20 น.  
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204  
ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ 

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนชื่อจริงของตัวเองและวาดภาพที่เราชื่นชอบลงในกระดาษที่อาจารย์แจกให้และอาจารย์ก็ได้ถามว่าใครที่มาก่อนเวลา 8.30น.บ้าง และดิฉันก็ได้ยกมือตอบอาจารย์ก็ได้ให้ออกไปหน้าชั้นเรียนพร้อมทั้งนำป้ายชื่อไปติดบนกระดานที่อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มให้ โดยจะมีเกณฑ์ในการกำหนดไว้เป็น เวลา ว่าใครที่มาก่อน 8.30น. และ 8.30น. จะทำให้มีการรู้จำนวนว่าการจำนวนนั้นเป็นการนับว่า เด็กที่มาก่อน 8.30น. มีจำนวน 8 คน จะทำให้เด็กรู้จำนวนทั้งหมดจะแสดงเป็นตัวเลขดังนั้น ตัวเลขจะเป็นสัญญาลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นเลขฮินดูอาราบิคสรุปได้ว่า เด็กที่มาก่อนเวลา 8.30น. มีจำนวน 8 คน 

ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 
นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19 

การนับ (Counting)
คือ เป็นการนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นและจำนวนที่ลดลง 

ตัวเลข (Number) คือ การแทนค่าที่เป็นจำนวนตัวเลข การเรียงลำดับ 

การจับคู่ (Matching) คือ กรจับคู่ของความเหมือน รูปร่าง 

การจัดประเภท (Classification) คือ การใช้เกณฑ์ในการจัดกลุ่ม 

การเปรียบเทียบ(Comparing) คือ การสังเกต กรประมาณด้วยตา 

การจัดลำดับ (Ordering) คือ การจัดลำดับให้เป็นหมวดหมู่ 

รูปทรงและเนื้อที่(Shape and space ) คือ การมีพื้นที่มีปริมาณ มีความสูง ความกว้าง 

การวัด(Measurement) คือ การใช้เครื่องมือในการวัด จะได้ค่าที่ได้เป็นตัวเลข 

เซต(Set) คือ การจัดกลุ่ม 

เศษส่วน(Fraction) คือ ให้เด็กได้รู้ของทั้งหมดจำนวนเต็ม 

การทำตามแบบหรือลวดลาย(Patterning) คือ แบบพื้นฐานที่เข้าใจร่วมกัน 

การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ(Conservation) เช่น การยกตัวอย่างของน้ำในแก้วน้ำ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2555   เวลา  8.30 - 12.20 น.
 
วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
 EAED  2204
ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ



     วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 3 คน กลุ่มดิฉันมีสมาชิกดังนี้
นางสาว กนกกร     พอกระโทก
นางสาว ภรณ์ไพลิน  สุขสวัสดิ์
นางสาว นรภัทร     วงศ์ขันธ์

       อาจารย์ก็ได้นักศึกษาแต่ละกลุ่มคิดความหมาย จุดมุ่งหมาย วิธีการสอน และขอบข่ายของคณิตศาสตร์เป็นความคิดของกลุ่มตัวเอง และกลุ่มของดิฉันก็ได้ให้ความหมาย จุดมุ่งหมาย วิธีการสอน และขอบข่ายไว้ดังนี้

      ความหมายของคณิตศาสตร์

     คณิตศาสตร์ คือภาษา เพื่อใช้ในการสื่อสารในแต่ละแบบ สื่อความหมาย ติดต่อ เพื่อการค้า และเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ตัวเลขเป็นสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารและยังทำให้เกิดความคิดที่มีระบบ มีเหตุผล ปละยังใช้แก้สถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคณิตศาสตร์จึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนหรือการคิดและคำนวณที่จะผ่านเข้ามาในแต่ละวัน

   กระทรวงศึกษาธิการ.การสังเคราะห์งานวิจัย เกี่ยวกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์.2537

จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์

     สอนให้เด็กรู้จำนวนตัวเลข วิธีคิด และการประยุกต์ใช้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันโดยประสบการณ์นั้นจะเป็นทักษะให้กับเด็กในการคิดคำนวณจึงกลายเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กเพื่อให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล และทำให้เด็กมีทัศนะคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.กุลยา  ตันติผลาชีวะ. 2551

วิธีการสอนคณิตศาสตร์

      เริ่มจากตัวผู้สอนที่ต้องเตรียมตัวในเนื้อหาบทเรียนการพูดเพื่อสร้างทัศนะคติที่ดีแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและอยากที่จะลงปฎิบัติในกิจกรรมนั้น โดยที่ผู้สอนเริ่มจากนำประสบการณ์ความรู้โดยการถามคำถามและจึงนำเข้าสู่กิจกรรม เมื่อจบกิจกรรมจึงถามถึงความรู็ที่ได้รับในวันนี้ตามความคิดเห็นแล้วจึงนำไปปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้เด็กชอบกิจกรรมคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามผู้สอนควรจะคำนึงถึงกลุ่มผู้เรียนเป็นสำคัญ

                       ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

      ขอบข่ายของคณิตศาสตร์จะสอนให้รู้ถึงความหมาย ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ ทฤษีของคณิตศาสตร์ จุดมุ่งหมายและการนำไปใช้









วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2555



วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2555   เวลา  8.30 - 12.20 น.

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
 EAED  2204
ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ

สาระในวิชาเรียนวันนี้
     วันนี้อาจารย์ได้ถามนักศึกษาว่า การแบ่งกลุ่มของเด็กจะแบ่งได้อย่างไรบ้างและจะแบ่งเด็กเป็นกลุ่มเป็น 2 กลุ่มได้อย่างไรบ้าง
        เพื่อนๆในห้อง ก็ได้ตอบว่า จะแบ่งกลุ่มด้วยการ 
       ให้เด็กนับ 1 และ 2  สลับกัน   
       ให้เด็กจับฉลาก
       แบ่งเด็กผมสั้น ผมยาวบ้าง
แต่การที่จะแบ่งกลุ่มเด็กที่เป็นกลุ่มผมสั้น ผมยาวนั้น ก็จะต้องมีกฎเกณท์อยู่ว่า ถ้าใครที่มีผมสั้นถึงบ่าจะ อยู่ในกลุ่มผมสั้น  แต่ถ้าเกิด เด็กคนไหนที่มีผมยาวเลยบ่าลงไปจะอยู่ในกลุ่มผมยาว
   อาจารย์ก็ได้ถามนักศึกษาว่าอะไรที่เป็นคณิตศาสตร์ในห้องเรียนบ้าง
เพื่อนๆในห้องตอบว่า
โต๊ะ จะให้รูปทรง ขนาด จำนวน
เงินในกระเป๋า จะให้เป็นจำนวนเงินในกระเป๋า และค่าของเงิน
หลอดไฟ จะให้รูปทรง จำนวน
กระเป๋า จะให้รูปทรง รูปร่าง น้ำหนัก ความยาวความกว้าง
                         
                                 วันนี้อาจารย์ได้ให้การบ้านไปทำที่ห้องสมุดและมีโจทย์ดังนี้

                        1. สำรวจหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งให้เขียนชื่อหนังสือ ชื่อผู้เขียน
                        ปีพ.ศ. และ เลขหมู่หนังสือ

                        2. ดูความหมายของคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งเขียนชื่อหนังสือ ชื่อผู้เขียน หน้า จากหนังสือ 
                        อะไร และ ปี พ.ศ. มา1คน

                       3. จุดมุ่งหมาย/เป้าหมายในการสอนคณิตศาสตร์

                       4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธีการสอนคณิตศาสตร์

                       5. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

ส่งสัปดาห์หน้า

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความหมายของเด็ก ปฐมวัย กระบวนการการเรียนรู้และรับรู้

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2555   เวลา  8.30 - 12.20 น.
วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     EAED  2204
ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ
สาระในวิชาเรียนวันนี้
1. สร้างข้อตกลงกันระหว่างในห้อง
           จะเริ่มเซ็นชื่อในเวลา 9.00 น.
           เครื่องแต่งกายควรเป็นชุดนักศึกษาทั้งหมด
           งานภายในห้องเกณ์ การทำงานและลงบันทึก Blogger จะตรวจในวันอาทิตย์
2. เนื้อภายในวิชาโดยการส่งและตอบ คำถามกันภายในชั้น
           อาจารย์เริ่มแจกกระดาษ A4 ให้เขียนชื่อ ตนเองชื่อวิชา เลขที่่  ชั้นพฤหัสบดี (เช้า)
โดยให้เขียนว่า อะไรคือความหมายของ "การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"  อะไรคือ "คณิตศาสตร์"
อาจารย์ได้แบ่งอธิบายเป็นสามหัวข้อใหญ่คือ    เด็กปฐมวัย  การจัดประสบการณ์  และคณิตศาสตร์
เด็กปฐมวัย แบ่งเป็นสาม หัวข้อย่อย
1. ช่วงวัย
2. พัฒนาการ
3. วุฒิภาวะ
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ข้ามขั้นหรือถอยลงไป
วิธีการเรียนรู้  คือ การเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือประสบการณ์โดยตรง
การรับรู้เกิดจากประสบการณ์ที่เราไปสัมผัสผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้จากความรู้เดิมปรับเป็นความรู้ใหม่เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ที่จะนำไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการได้รับประสบการณ์ใหม่นำไปเพิ่มเติมกับประสบการณ์ที่มีอยู่แล้ว
สรุป
          การรู้การทำงานของสมองทำให้รู้พัฒนาการการเรียนรู้ ที่จะทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดประสบการณ์ เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัย อายุ พัฒนาการ วุฒิภาวะ
ที่จะทำให้เกิด "ความพร้อม"